logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI

AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันอังคาร, 23 กุมภาพันธ์ 2564
Hits
1760

        เราคงคุ้นเคยกับ IQ (Intelligence Quotient) เชาวน์ปัญญา และ EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์ หลายคนคงไม่เคยได้ยิน AQ (Adaptability Quotient) หรือ ความฉลาดในการแก้ไขปัญหาความสามารถในการปรับตัว คือมีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวในการเผชิญปัญหาได้ดี นักจิตวิทยาบอกว่าในโลกปัจจุบันนี้ IQ อาจเป็นเพียงข้อกำหนดขั้นต่ำที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการศึกษาและได้งานทำ ส่วน EQ ก็จะช่วยเรื่องความสัมพันธ์และการทำความเข้าใจกับผู้อื่นสำหรับการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษย์ในการใช้ชีวิต แต่แค่ IQ และ EQ จะเพียงพอหรือไม่กับสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี​ นำมาซึ่งการเกิดบรรทัดฐานใหม่ๆ ในสังคม หรือเกิดเป็น New Normal ในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้า​มามีบทบาทในชีวิตของผู้คน จนสามารถสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในชีวิตประจำวัน รวมทั้งในการทำงาน​ โดยเฉพาะ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI

11643 1
ภาพแบบทดสอบในการแก้ไขปัญหา
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/File:Multiple_Classification_Card_Sorting_Task_3.jpg, Xiaozhu89

        ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าวิธีดีที่สุดที่จะรับมือกับ AI คือการพัฒนาทักษะด้าน AQ ซึ่งมาจากคำเต็มว่า (Adaptability Quotient) หรือความฉลาดการแก้ไขปัญหาความสามารถในการปรับตัวนั่นเอง ความสามารถในการปรับตัวดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องความสามารถในการดูดซับหรือเรียนรู้ข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการปลดหรือโยนทิ้งองค์ความรู้เก่าซึ่งล้าสมัยแล้วออกไป ความสามารถในการเลือกข้อมูลหรือเรื่องที่เป็นประโยชน์ สำคัญและตรงประเด็น และความสามารถในการเอาชนะปัญหาท้าทายและปรับตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  รวมทั้งความกระตือรือร้นสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น และความพร้อมที่จะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งย่อมรวมถึงความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความกล้าที่จะตั้งคำถามได้ถูกต้องและถามคำถามที่สำคัญ ตลอดจนถึงความสามารถในการฟื้นตัวเมื่อทำพลาดหรือต้องล้มลงด้วย

         AQ (Adaptability Quotient) ยังถูกพูดถึงในวงกว้าง อย่างนิตยสาร Fast Company ให้คำนิยามแก่ AQ ว่าเป็น “การทำงานแห่งอนาคต” ในขณะที่ Harvard Business Review อธิบายว่าความสามารถในการปรับตัวนั้นคือความได้เปรียบใหม่ของธุรกิจ ขององค์กร ของบุคคล และในรายงานจาก Talent Economy พบว่าในการจ้างงานนับต่อจากนี้ AQ จะมีความสำคัญพอๆ กับ IQ และ EQ อย่างแน่นอน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วจากการศึกษาในสหราชอาณาจักรว่ากว่า 91% ของฝ่ายทรัพยากรจะคัดเลือกพนักงานใหม่โดยดูที่ความสามารถในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนเป็นหัวใจสำคัญนอกจากนี้งานวิจัยอีกมากมายยังชี้ชัดว่า AQ (Adaptability Quotient) ช่วยเพิ่มผลกำไร ยอดขาย การทำงานที่ดีขึ้น ทั้งโดยส่วนตัวและโดยการทำงานเป็นทีม จนอาจเรียกได้ว่าความสามารถด้านการปรับตัวคือสมรรถนะสำคัญของภาวะผู้นำและเป็นหัวใจของนวัตกรรมในยุคเลยทีเดียว

AQ เชาวน์ปัญญาที่เพิ่มได้

        เป็นข่าวดีที่เชาวน์ปัญญาด้านการปรับตัวนั้นเป็นสิ่งที่พัฒนากันได้ โดย Otto Scharmer วิทยากรอาวุโสประจำสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ให้คำแนะนำในการเพิ่มความสามารถด้าน AQ ไว้ 3 องค์ประกอบคือ

        1) เปิดตา เพื่อที่เราจะได้มองเห็นโลกด้วยสายตาที่สดใหม่อยู่เสมอ อันนำไปสู่โอกาสและความเป็นไปได้

        2) เปิดใจ คือความพยายามที่จะมองสถานการณ์ต่างๆ ด้วยความเข้าใจแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา

        3) เปิดรับ เป็นการยอมรับความเปลี่ยนแปลงด้วยความเข้าใจ เพื่อลดอีโก้หรือออกจาก Comfort Zone ไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆ

        IQ หรือความฉลาดทางปัญญา อาจจะช่วยให้เราจบการศึกษา ได้ทุน ได้งานดี ๆ ทำ ส่วน EQ ก็เป็นความฉลาดทางอารมณ์ซึ่งจะช่วยให้เราสำเร็จและมีความสุขได้ในสังคม แต่ AQ หรือความฉลาดการแก้ไขปัญหาความสามารถในการปรับตัวนั้น จะช่วยเป็นหลักประกันว่าเราจะอยู่รอดหรือไม่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

แหล่งที่มา

  1. (2563, 15 มีนาคม). 5 ทักษะเพื่อรอดในยุค AI Takes All และเตรียมความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองของโลกอนาคต. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/03/5-skills-for-future-survived-from-ai-takes-all/

admin. (2563, 12 มีนาคม).  ‘ฉลาดปรับตัว’ หรือ AQ เชาวน์ปัญญาที่เพิ่มได้ ทักษะสำคัญในยุคแข่งขันกับเทคโนโลยี AI.  สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. จาก  https://www.belovetech.com/knowledge/ฉลาดปรับตัว-หรือ-aq-เชาว์ป/

HDW. (2563, 25 มีนาคม).  AQ ฉลาดปรับตัว ทักษะสำคัญในยุคแข่งขันกับเทคโนโลยี AI. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. จาก https://blog.hdw.co.th/2020/03/25/aq-ฉลาดปรับตัว-ทักษะสำคัญ/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
AQ, Adaptability Quotient, AI, การแก้ไขปัญหา, การปรับตัว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 08 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11643 AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI /article-technology/item/11643-aq-ai
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)
เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจาย (Distribut...
Hits ฮิต (29883)
ให้คะแนน
ระบบประมวลผลข้อมูล ดังที่เราทราบกันดีแล้วว่า สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นอกเหนือจากการถูกกำหนดให้มี ...
แนวทางสร้าง Maker สำหรับเยาวชนไทยในยุค ไทยแลนด์ 4.0
แนวทางสร้าง Maker สำหรับเยาวชนไทยในยุค ไ...
Hits ฮิต (12964)
ให้คะแนน
มาถึงแล้วยุคที่ Maker หรือนักสร้าง สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขปัญหาที่ตนเองพบเจอ หรือแก้ปัญหาให ...
Space economy ยุคแห่งการท่องอวกาศ
Space economy ยุคแห่งการท่องอวกาศ
Hits ฮิต (14827)
ให้คะแนน
หลังจากที่ยานอะพอลโล 17 เดินทางไปดวงจันทร์เมื่อปี 1972 หากหลายคนคงใฝ่ฝันที่จะออกไปแตะขอบฟ้านอกโลก ค ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)